เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [11. โสตาปัตติสังยุต]
4. ปุญญาภิสันทวรรค 7. มหานามสูตร

ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า จุติจากภพนี้แล้ว ไปเกิดในภพนั้น
คิดว่า ‘พวกเราประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวเช่นใด
ในพระพุทธเจ้า จึงจุติจากภพนั้นแล้ว มาเกิดในที่นี้ แม้อริยสาวก
ผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวเช่นนั้นในพระพุทธเจ้า
ก็ไปเกิดในสำนักเทพทั้งหลาย ได้รับคำเชื้อเชิญว่ามาเถิด
2. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
3. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
4. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ เทพทั้งหลายผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ จุติ
จากภพนี้แล้ว ไปเกิดในภพนั้นคิดว่า ‘พวกเราประกอบด้วยศีล
ที่พระอริยะชอบใจเช่นใด จุติจากภพนั้นแล้ว มาเกิดในที่นี้ แม้
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจเช่นนั้น ก็ไปเกิด
ในสำนักของเทพทั้งหลาย ได้รับคำเชื้อเชิญว่ามาเถิด’
ภิกษุทั้งหลาย เทพทั้งหลายปลื้มใจ กล่าวถึงบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4
ประการนี้ ซึ่งมาในที่ประชุม(ของเทพ)”

เทวสภาคสูตรที่ 6 จบ

7. มหานามสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ

[1033] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเสด็จเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่า
เป็นอุบาสก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร บุคคลถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
ถึงพระธรรมเป็นสรณะ และถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึง
ชื่อว่าเป็นอุบาสก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :553 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [11. โสตาปัตติสังยุต]
4. ปุญญาภิสันทวรรค 7. มหานามสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสกจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยศีล”
“มหาบพิตร อุบาสกเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์
เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ และเว้นขาดจากการ
เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
อุบาสกจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสกจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยศรัทธา”
“มหาบพิตร อุบาสกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของ
ตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ด้วยเหตุเพียง
เท่านี้ อุบาสกจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสกจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยจาคะ”
“มหาบพิตร อุบาสกในธรรมวินัยนี้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการให้
ทานและการแจกทาน อยู่ครองเรือน ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อุบาสกจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยจาคะ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสกจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยปัญญา”
“มหาบพิตร อุบาสกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเป็น
เครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับ อันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึง
ความสิ้นทุกข์โดยชอบ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อุบาสกจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา”

มหานามสูตรที่ 7 จบ